วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เนื้อหา ก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน

เรียงความอาเซียน

โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน
สมาชิกกลุ่ม
                                        ด.ช.กฤตภาส    กมลอินทร์  ม.3/6  เลขที1
                                        ด.ช.เดชาธร     กลั่นกลอง   ม.3/6  เลขที่4
                                        ด.ช.ธัญวิชญ์    จันทร์คำ     ม.3/6  เลขที7
                                        ด.ช.พงศธร      กงลา         ม.3/6  เลขที่9
                                        ด.ช.สมรักษ์     พึ่งกลัด       ม.3/6  เลขที่14
                                        ด.ช.ทีฆายุ      ฉ่ำพงษ์        ม.3/6  เลขที่5
                                        ด.ช.กฤษฏา จันทร์หอม        ม.3/6 เลขที่2
                                         




กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในกลุ่มที่ตั้งใจ ทำงานชิ้นนี้ขึ้นมาและ ต้องขอบพระคุณอาจารย์บุญโต  นาดี อาจารย์ประจำวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ที่ได้ให้ คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานมาโดยตลอดจนโครงงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วย ดี
ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้ที่มีความสนใจ เพื่อนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อ ไป




บทคัดย่อ
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเว็บไซด์เกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน ศึกษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างเว็บไซด์จากเว็บไซด์ทางอินเทอร์เน็ต ศึกษาจากอินเตอร์เน็ตและหนังสือที่เกี่ยวข้อง และขอคำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้หรือผู้ที่มีความชำนาญในการสร้างเว็บไซด์ มาสร้าง เว็บไซด์เพื่อศึกษาการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์





 บทที่ 1
บทนำ
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วรวมถึง เศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่ง ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆตามมา จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจมีมากขึ้น มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะภายในระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเท่านั้น หากแต่พยายามศึกษาระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจมาเป็นต้นแบบใน การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของตน นอกจากนี้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการค้ามีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากประกอบกับการคมนาคม ติดต่อสื่อสารที่ สะดวกรวดเร็วทำให้ประเทศต่างๆ มีโอกาสติดต่อทำการค้าระหว่างประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแตกต่างกัน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศใดประเทศหนึ่งอาจมีผลกระทบทั้ง ทางตรงและทางอ้อมต่อประเทศอื่นๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันยิ่ง ทำให้โลกแคบลง ผลกระทบของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้ายิ่ง รุนแรงมากขึ้นซึ่งประเทศต่าง ๆให้ความสำคัญกับการรวมตัว กันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ระหว่างประเทศ อาเซียนจึงต้อง ปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะทั่วไปคือเป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ คือ จีนกับอินเดีย ในอดีตทำให้เรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียใน หรือเอเชียกลาง ตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับอ่าวเบงกอล หรือ ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยมีเส้นศูนย์สูตรผ่าน เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และเกาะ สุลาเวซี (ก.เซลีเบส) ประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 4.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ส่วนคำว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใช้ครั้งแรกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นมาที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ประชาคมการเมืองความ มั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี 2563 ซึ่ง ต่อมาได้เลื่อนกำหนดเวลาสำ หรับการรวมตัวกัน ให้เร็วขึ้นเป็นปี2558
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดย ประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมี การฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งแต่ หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (thai-aec.com) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญา กรุงเทพ (The Bangkok Declaration)โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐสังคม นิยมเวียดนาม-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา ประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนตามลำดับ รวมสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมี โครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่าง ประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศ
สมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวมซึ่งมีประเทศทั้งหมด 11 ประเทศ แต่ละประเทศมีวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันแต่ละประเทศได้ให้ความสนใจและความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและด้าน อื่นๆจึงเกิดความร่วมมือในระหว่างประเทศประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่ส่งผลต่อด้าน เศรษฐกิจ ด้านการเมืองวัฒนธรรม และ ความมั่นคง
เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบันทำให้เราได้รับข่าวสารต่างๆได้ง่าย ขึ้นและมีช่องทาง ในการรับข่าวสารต่างๆมากมาย เช่นการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต กลุ่มข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางใน การสืบหาข้อมูล พวกเราจึงจัดทำสื่อ CAI โดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate  ขึ้นมาซึ่งเป็นสื่อที่ใช้เพื่อการเรียนรู้และสามารถค้นหาได้จากอินเตอร์ เน็ต ปัจจุบันสื่อ CAI เริ่มจะเป็นที่นิยมมากเพราะคนส่วนมากต้องการหาขอมูลที่ง่ายและตรงประเด็นโดย จะสืบหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูล สามารถทำได้ง่ายและมีคำสั่งไม่ยุ่ง โดยสื่อที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำขึ้นมานั้นจะเป็นการ รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวกับอาเซียนเช่น ความรู้ทั่วไปของแต่ล่ะประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประวัติของแต่ละประเทศเราก็จะมีการบรรยายให้ฟัง เพลงประจำชาติก็จะมีเพลงให้ฟัง ดอกไม้ประจำชาติและอาหารประจำชาติก็จะมีรูปภาพให้ดู เป็นต้น โดยกลุ่มของข้าพเจ้าเห็นว่าในปัจจุบันข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับอาเซียนก็มี มากมาย ก็ต้องใช้ระยะเวลาในการค้นหาเว็ปไซต์หลายเว็ปไซต์ ซึ่งกลุ่ม ของพวกเราได้เห็นว่าเป็นการเสียเวลา พวกเรา จึงไดจัดทำสื่อที่รวบรวมเนื้อหาไว้ในที่เดียวกันซึ่งง่ายต่อการค้นหาและ ประหยัดเวลา ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ตามมา จากสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากขึ้น จึงเกิดการรวมกลุ่มกันของประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเป็นแนวทางในการปรับตัวรับมือกับการเปิด ประเทศสู่การเป็นประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึง ความสำคัญจึงสร้างโครงงาน “ก้าวไกล นำไทยสู่อาเซียน” ขึ้นมาโดยการสร้างสื่อ CAI เกี่ยวกับประชาคม อาเซียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนและบุคคลทั่ว ไปได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. เพื่อต้องการให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.ศึกษารายละเอียดวิธีทำสื่อ  Blogger google ที่จะนำมาใช้ทำโครงงาน
2.ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจากหนังสือและทางอินเทอร์เน็ต
3.สร้างสื่อ Blogger google เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยใช้โปรแกรม Blogger google  ในการสร้างสื่อ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์
3. ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด




บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานการคอมพิวเตอร์ กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำ โปรแกรม Adobe Captivate และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทำจึงขอนำเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งลำดับ เอกสารดังนี้
1.ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์
2.ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม blogger
2.1 การเปิดใช้งานโปรแกรม blogger
2.2 เริ่มต้นใช้งาน  blogger
2.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม blogger
2.4 จุดเด่นของโปรแกรม blogger
3.ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
3.1.จุดกำเนิดอาเซียน
3.1.1การลงนามปฏิญญากรุงเทพหรือการลงนามปฏิญญาอาเซียน
3.2.ประเทศสมาชิก
3.3.วิสัยทัศน์อาเซียน
3.4. เกร็ดความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
3.4.1คำขวัญและสัญลักษณ์อาเซียน
3.4.2สำนักเลขาธิการอาเซียน
3.4.3เลขาธิการอาเซียน
3.4.4ข้อมูลรายประเทศ
3.4.5เพลงประจำอาเซียน
3.4.6ธงประจำชาติ
3.4.7สกุลเงิน
3.4.8ชุดประจำชาติ
3.4.9ดอกไม้ประจำชาติ

เอกสารทีเกี่ยวข้อง
1. ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์
ความหมาย
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลกโดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล  (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง เช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้น ข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้ ที่มาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095 พันล้านคน หรือ 30.2 % ของประชากร ทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2554) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 44.0 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 384 ล้านคน หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อ ประชากรสูงที..สุดคือ 78.3 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.1 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 58.3 % ตามลำดับ จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี การเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ข้อมูลล่าสุดของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2

 อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศ ออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็น การถาวร จนกระทั้ง ในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่ง เอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็น ครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
-      ด้านการศึกษา
-      สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการ
บันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
-     ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
-     นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหา ข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
-     ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
-     ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
-     สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
-     ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัว โปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
-     ด้านการบันเทิง
-     การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
-     สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
-     สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้ จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
          1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับและ แนบไฟล์ไปได้
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหา ข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดง ความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป (Newsgroup) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat, IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรา นั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและ บริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

ลักษณะการให้บริการอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตาม ข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e- Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ

2.  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม blogger
โปรแกรม blogger เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบสื่อเรียนการเรียนรู้ หรือสื่อการนำเสนอแบบมัลติมีเดีย เช่น การนำเสนอผลงาน การจับหน้าจอภาพเพื่อนำไปสร้างสื่อการเรียนรู้ การสร้างแบบทดสอบ รวมไปถึงการตัดต่อวิดีโอ เพื่อใช้สำหรับงานนำเสนอหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ โดยโปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานได้ง่ายและเร็ว

         2.1 การเปิดใช้งานโปรแกรม blogger
               1.  คลิกที่ Start Menu
               2.  คลิกที่ All Program
               3.  เลือกเมนู Adobe
               4.  คลิกที่ Captivate จะปรากฏหน้าจอแรกของโปรแกรม

          2.2 เริ่มต้นใช้งาน blogger (การสร้าง Movie ใหม่)
              1.  เปิดโปรแกรม blogger ขึ้นมา
              2.  คลิกตรง Record or create a new project จะปรากฏหน้าต่าง New project options
              3.  คลิกเลือกรูปแบบของการผลิตสื่อบทเรียน โดยการคลิกที่ Other
              4.  คลิกที่ Blank Project

          2.3 ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม blogger
               1.  Toolbar                       เก็บเครื่องมือหลักของโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ใช้บ่อย
               2.  Storyboard                  เป็นมุมมองสไลด์ (Frame) โดยในตอนแรกที่เรียกเปิดโปรแกรมจะมี 1 Slide (1 Frame)
               3.  Work Area                   เป็นพื้นที่การสร้าง Movie
               4.  Time Line                    เป็นส่วนกำหนดเวลาในการในการ Play Movie
               5.  Object Tool                 เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างวัตถุ
               6.  Alignment Tools          เป็นเครื่องมือในการใช้จัดตำแหน่งวัตถุใน Work Area

          2.4 จุดเด่นของโปรแกรม blogger
               -   สร้างสื่อเรียนรู้หรือสื่อนำเสนอมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดาย
               -   ตัดต่อวิดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
               -   สร้างสื่อเรียนรู้โดยการจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) ประกอบเสียงบรรยายเหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
               -    สร้างแบบทดสอบได้ง่าย
               -    นำเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย
               -    ส่งออกไฟล์ได้หลายรูปแบบ
               -    Flash movie File (.swf) ลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรม Macromedia Flash
               -    HTML File (.html) สำหรับการนำไปใช้กับเว็บไซต์
               -    EXE File (.exe) สำหรับการนำไปใช้แบบ Stand alone คือ การแสดงผลโดยไม่ต้องติด   ตั้งโปรแกรม Adobe captivate
               -    ควบคุมเวลาได้ง่าย โดยใช้ Virtual Timeline
               -    ดูตัวอย่างผลงานได้ทันที โดยไม่ต้อง Compile
               -    สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ Macromedia Breeze ทำให้สามารถกำหนดเนื้อหาที่จะ     แสดงให้กับผู้ใช้ที่ต้องการได้ผ่านบราวเซอร์ โดยนำผลงาน (Publishing) ไปไว้ที่ Breeze Serve
               -    ฟอร์แมตที่เป็นมาตรฐานสนับสนุนโปรแกรมออกแบบบทเรียนออนไลน์ทุกประเภท ตาม   การรับรองของ SCORM 2004, SCORM 1.2 และ AICC ซึ่งสามารถนำไปใช้งานร่วมกับ โปรแกรมออกแบบบทเรียนออนไลน์แบบ LMS (Learning Management System)

 3. ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
จุดกำเนิดอาเซียน การลงนามปฏิญญากรุงเทพหรือการลงนามปฏิญญาอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ (ที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย ในขณะนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 5 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพฯ" [Bangkok Declaration] เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ"อาเซียน" [ASEAN] ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of South East Asian Nations ชื่อทางการในภาษาอังกฤษของอาเซียนทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลง นามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 5 ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ของ การจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการ ของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
          1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
          2. ส่งเสริมสันติภาพและความมันคงส่วนภูมิภาค
          3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ พัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
          4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
          5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
          6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้าตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการ คมนาคม
          7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก

ประเทศสมาชิก
ในปี 2546 อาเซียนได้กำหนดทิศทางที่แน่ชัดว่า ความร่วมมือจะต้องเดินทางไปสู่การเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็น หนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อีกสองเสาหลัก คือ ประชาคมความ มัน.. คงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) และได้มีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อการดำเนินงานไปสู่ ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีประเทศที่มีการเข้าร่วมการเป็นสมาชิก
ทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่
          1.  บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
          2.  กัมพูชา (Cambodia)
          3.  อินโดนีเซีย (Indonesia)
          4.  ลาว (Laos)
          5.  มาเลเซีย (Malaysia)
          6.  พม่า (Myanmar)
          7.  ฟิลิปปินส์ (Philippines)
          8.  สิงคโปร์ (Singapore)
          9.  ประเทศไทย (Thailand)
          10.  เวียดนาม (Vietnam)

วิสัยทัศน์อาเซียน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision2020) สู่การ เป็น A Concert of Southeast Asian Nations หรือ ความสมัครสมานร่วมมือกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (The Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) ไปสู่ภูมิภาคที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการ แข่งขันในระดับสูงซึ่งเป็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนที่ของแหล่งเงินทุน มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ลดความยากจน และความแตกต่างในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ประชาคมอาเซียนเร็วขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ. 2020) ขยับมาเป็น ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) เมื่อเดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เพื่อกำหนดเป้าหมาย ว่า ภายในปีค.ศ. 2020 (2563)
อาเซียนจะเป็น
     1) วงสมานฉันท์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – A Concert of Southeast Asian Nations
     2) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างมีพลวัต – A Partnership in Dynamic Development
     3) มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก – An Outward-Looking ASEAN
     4) ชุมชนแห่งสังคมที่เอื้ออาทร – A Community of Caring Societies

คำขวัญและสัญลักษณ์อาเซียน
        คำขวัญของอาเซียน คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งเอกลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)

สัญลักษณ์อาเซียน
        รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันพื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ มีตัวอักษรคำว่า “ASEAN” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิก อาเซียน
          -  สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
          -  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
          -  สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
          -  สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

 สำนักเลขาธิการอาเซียน
สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2519 โดยรัฐบาล อินโดนีเซีย ได้มอบอาคารทางตอนใต้ของกรุงจาการ์ตา เพื่อใช้เป็นสำนักงาน อาคารดังกล่าวตั้งอยู่เลขที่ 70A Jl. Sisingamangaraja Jakarta Indonesia เป็นสำนักงานใหญ่ถาวรของอาเซียนนับตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึง ปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการอาเซียน มีเลขาธิการอาเซียน (Secretary General of ASEAN) เป็นหัวหน้า สำนักงาน ที่ผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนมาแล้ว 2 ท่าน คือ นายแผน วรรณเมธี (ระหว่างปี 2527-2529) และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (2551-2555) หน้าที่ของสำนักงาน เลขาธิการอาเซียนคือ ประสานงานระหว่างหน่วยงานของอาเซียน ในการดำเนินโครงการและกิจกรรมของ อาเซียนให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ว่า ภายในปี 2558 “การสร้างประชาคม อาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” แต่ ละประเทศสมาชิกมีสำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ (National ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยงาน ระดับกรมในกระทรวงต่างประเทศของประเทศนั้น ๆ มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการ ดำเนินงานของอาเซียนภาย ในประเทศ ของตน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศนอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการผู้แทนถาวร ประจำอาเซียน(Committee of Permanent Representatives: CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน และองค์กรระดับ รัฐมนตรีอาเซียน เฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียน แห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประจำอาเซียนและมีคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตาในโลกที่เต็มไปด้วย ความท้าทาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศสมาชิกเห็นพ้องกัน ถึงความสำคัญของการมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายในอาเซียน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพใน การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและรองรับความท้าทายตลอดจนเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และอำนาจต่อรอง ให้กับประเทศสมาชิก ผู้นำอาเซียนจึงได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community ) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน โดยใน ด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ” หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ” หรือ
ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือ ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) โดยได้เล็งเห็นว่า สถานการณ์ โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้อปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนาในการดำเนิน ความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

เลขาธิการอาเซียน
1.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย H.R. Darsono
ดำรงตำแหน่ง 7 มิถุนายน 2519 - 18  กุมภาพันธ์ 2521
2.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย Umarjadi Notowijono
ดำรงตำแหน่ง 19 กุมภาพันธ์ 2521  - 30 มิถุนายน 2521
3.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศมาเลเซีย Datuk Ali Bin Abdullah
ดำรงตำแหน่ง10 กรกฎาคม   2521 - 30 มิถุนายน 2523
4.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศฟิลิปปินส์ Narciso G. Reyes
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม 2523 - 1 กรกฎาคม 2525
5.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกประเทศสิงคโปร์ Chan Kai Yau
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม 2525 - 15  กรกฎาคม 2527
6.  มาจากประเทศไทย Phan Wannamethee (นายแผน วรรณเมธี)
ดำรงตำแหน่ง 16 กรกฎาคม 2527  - 15 กรกฎาคม 2529
7.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกบรูไนดารุสซาลาม Roderick Yong
ตำแหน่ง 16 กรกฎาคม 2529 -  16 กรกฎาคม 2532
8.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกอินโดนีเซีย Rusli Noor
ดำรงตำแหน่ง 17 กรกฎาคม 2532 - 1 มกราคม  2536
9.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกมาเลเซีย Dato Ajit Singh
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2536 - 31  ธันวาคม 2540
10.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกฟิลิปปินส์ Rodolfo C. Severino Jr.
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2541 - 31 ธันวาคม 2545
11.  มาจากประเทศเพื่อนสมาชิกสิงคโปร์ Ong Keng Yong
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2546 - 31 ธันวาคม 2550
12.  มาจากประเทศไทย Dr. Surin Pitsuwan (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ)
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2551 - 31 ธันวาคม 2555

ข้อมูลรายประเทศ
ข้อมูลรายประเทศสมาชิกอาเซียน มีดังนี้

1.  ประเทศบรูไนดารุสซาลามประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีชื่อเป็นทางการว่า : เนการาบรูไน ดา           รุสซาลาม เมืองหลวงคือ : บันดาร์เสรีเบกาวัน
2.  ประเทศกัมพูชาประเทศกัมพูชา มีชื่อเป็นทางการว่า : ราชอาณาจักรกัมพูชา เมืองหลวงคือ :             พนมเปญ เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ
3.  ประเทศอินโดนีเซียประเทศอินโดนีเซีย มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เมืองหลวงคือ : จาการ์ตา เป็นนครหลวง และเมืองท่าเทียบเรือทันสมัย เป็นศูนย์กลางของ                   ธุรกิจธนาคาร ของประเทศ สมัยที่เคยเป็นอาณานิคมของฮอลันดานั้น จาการ์ตา คือ เมือง                   “ปัตตาเวีย”

4.  ประเทศลาวมีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมืองหลวงคือ : เวียง         จันทร์

5.  ประเทศมาเลเซีย มีชื่อเป็นทางการว่า : สหพันธรัฐมาเลเซีย เมืองหลวงคือ : กัวลาลัมเปอร์
6.  ประเทศพม่า มีชื่อเป็นทางการว่า : สหภาพพม่า เมืองหลวงคือ : ย่างกุ้ง
7.  ประเทศฟิลิปปินส์ มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมืองหลวงคือ : กรุงมะนิลา ตั้ง           อยู่บนเกาะลูซอน
8.   ประเทศสิงคโปร์ มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมืองหลวงคือ : สิงคโปร์
9.  ประเทศไทย มีชื่อเป็นทางการว่า : ราชอาณาจักรไทย เมืองหลวงคือ : กรุงเทพมหานคร
10.  ประเทศเวียดนาม มีชื่อเป็นทางการว่า : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมืองหลวงคือ : กรุง           ฮานอย

เพลงประจำอาเซียน
        เพลงประจำอาเซียนใช้เปิดในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ และเชื่อมโยง อาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน โดยก่อนหน้าที่จะใช้เพลงประจำอาเซียนในปัจจุบัน มีการใช้เพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN ของฟิลิปปินส์มาก่อน แต่ใช้เปิดในวงประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วย วัฒนธรรมและสารสนเทศเท่านั้น ต่อมาใช้เพลง ASEAN Our Way ของมาเลเซีย และเพลง Rise ของ สิงคโปร์ในการประชุมสุดยอดอาเซียนท..ีมาเลเซียและสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม การมีเพลงประจำอาเซียนต้อง ดำเนินการตามกฏบัตรอาเซียน และเพื่อให้ทันการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ประเทศไทยจึงได้รับ ความไว้วางใจจากประเทศสมาชิก ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลงประจำอาเซียน และคณะกรรมการจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย มีมติเอกฉันท์เลือกเพลง The ASEAN Way ของไทยเป็นเพลงประจำอาเซียน โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เนื้อเพลง The Asean Way
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look’in out to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
We dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
we dare to dream
we care to share for it’s the way of ASEAN.

 ส่วนเนื้อร้องภาษาไทยประพันธ์โดย สุรักษ์ สุขเสวี มีเนื้อร้องดังนี้
" พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงไหน
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนียวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล "

ธงประจำชาติ
          1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม) ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสี ขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์ สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธง ประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา) ธงชาติกัมพูชา ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วตรงกลางจะเป็นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่บริเวณกึ่งกลาง ขณะที่ริ้วด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีน้ำเงิน และกว้างริ้วละ 1 ส่วนเท่า ๆ กัน โดยสีต่าง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีน้ำเงิน หมายถึง กษัตริย์ สีแดง หมายถึง ชาติ ส่วนปราสาทนครวัดสีขาว หมายถึง สันติภาพ
          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตาม แนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว) ธงชาติลาว ลักษณะผืนธงแบ่งตามแนวยาวออกเป็น 3 ส่วน โดยแถบตรงกลางจะเป็นสีน้ำเงิน กว้าง 2 ส่วน มีพระจันทร์ ทรงกลมสีขาวอยู่กึ่งกลาง ขณะที่แถบด้านนอกทั้ง 2 ด้าน มีสีแดง และกว้างริ้วละ 1 ส่วน เท่า ๆ กัน โดยสี ต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ของชาติ พระจันทร์สีขาว หมายถึงเอกภาพของ สาเหตุที่มีดวงจันทร์ทรงกลมอยู่ตรงกลาง เนื่องจากเพื่อเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง
          5. Malaysia (มาเลเซีย) ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืน ธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศ มาเลเซีย ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุข แห่งสหพันธรัฐ สีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า) ธงชาติพม่า ได้แบ่งตามความยาว ออกเป็น 3 ส่วน และมีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยแต่ละส่วน มีสีที่แตกต่างกัน ไล่จากบนลงล่าง คือ สีเหลือง สีเขียว และสีแดง ขณะที่กึ่งกลางธงมีรูปดาว 5 แฉก สีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มี ความหมาย ดังนี้ สีเขียว หมายถึง สันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า สีเหลือง หมายถึง ความสามัคคี สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ดาวสีขาว หมายถึง สหภาพอันมั่นคง
          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) ธงชาติฟิลิปปินส์ ด้านต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสี ขาว เป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาค และภราดรภาพ ซึ่งภายในสามเหลี่ยมสีขาว ประกอบด้วย ดวง อาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาว 5 แฉก จำนวน 3 ดวง และตั้งอยู่ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งสัญลักษณ์ ทั้งหมด ล้วนเป็นสีทอง ส่วนด้านที่เหลือของธง ได้แบ่งครึ่งตามความยาว โดยแถบบนมีสีน้ำเงิน และแถบ ล่างมีสีแดง ทั้งนี้ หากแถบทั้งสองสีดังกล่าว ได้มีการสลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีน้ำเงินอยู่ด้านล่าง แสดงว่า ขณะนั้นประเทศฟิลิปปินส์กำลังอยู่ในภาวะสงคราม ส่วนสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มี ความหมาย ดังนี้  สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม สีแดง หมายถึง ความรักชาติ และ ความมีคุณค่า ดวงอาทิตย์มีรัศมี 8 แฉก หมายถึง 8 จังหวัดแรกของประเทศ ที่มีความพยายาม ในการ เรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน กระทั่ง เกิดการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2439 ดาวสามดวง หมายถึง การแบ่ง พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสา ยัน
          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์) ธงชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมด้านบนของคันธง เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูป ดังกล่าวมีดาว 5 แฉก จำนวน 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า โดยรูปพระจันทร์เสี้ยว และดาว 5 แฉก ต่างมีสีขาว ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ภราดรภาพ และความเสมอภาค ของมนุษย์โดยทั่ว หน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และความดีงามที่แพร่หลาย และคงอยู่ตลอดกาล รูป พระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึง ความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึง อุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอ ภาค
          9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย) ธงชาติไทย ประกอบด้วย 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีขาว และสี น้ำเงิน มีการแบ่งเป็นริ้วจำนวน 5 แถบ ซึ่งแถบในสุดเป็นสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบน ด้านล่าง เป็นสี ขาว และสีแดงตามลำดับ ทั้งนี้ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ส่วนสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม มีการ เรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ ราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ไว้เมื่อ พ.ศ. 2464 โดยได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศใช้อย่าง เป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้ คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็น ชาตินิยมมาตลอด
          10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) ธงชาติเวียดนาม พื้นธงเป็นสีแดง ล้วน ตรงกึ่งกลางมีรูปดาว 5 แฉก สีเหลืองทอง เป็นที่เข้าใจกันทั่ว ไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคม เวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือพ่อค้า และทหาร ส่วนสีต่างๆ มีความหมาย ดังนี้ สีแดง หมายถึง การต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลือง หมายถึง ชาวเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่าสีแดง หมายถึง การ ปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพดาวสีทอง หมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

สกุลเงิน
1. บรูไน ดารุสซาลาม ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์บรูไน  อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์บรูไน = 25.10 บาท
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน เรียล  อัตราแลกเปลี่ยน 150 เรียล = 1 บาท
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน รูเปียห์  อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงิน กีบ  อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท
5. มาเลเซีย ใช้สกุลเงิน ริงกิต  อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซีย = 10.40 บาท
6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงิน จ๊าด  อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน เปโซ  อัตราแลกเปลี่ยน 1.40 เปโซ = 0.78 บาท
8. สาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้สกุลเงิน ดอลล่าร์สิงค์โปร์  อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์ = 24.40 บาท
9. ราชอาณาจักรไทย ใช้สกุลเงิน บาท
10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้สกุลเงิน ด่ง  อัตราแลกเปลี่ยน 900 ด่ง = 1.64 บาทไทย

ชุดประจำชาติ
          1.  การแต่งกายของบรูไนสำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มี สีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื่อแขนยาว ตัวเสื่อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง
          2.  การแต่งกายของกัมพูชาซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับชุด ผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สำหรับผู้ชายนั้นมักสวม ใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว
          3.  การแต่งกายของอินโดนีเซียเคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มี ลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะ เป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและ นุ่งกางเกงขายาว และนุ่ง โสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
         4.  การแต่งกายของลาวผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบ สากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย
         5.  การแต่งกายของมาเลเซียสำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว
          6.  การแต่งกายของฟิลิปปินส์ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วย ผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่ เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก
          7.  การแต่งกายของสิงคโปร์ สิงคโปรไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่ง ออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของ ตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใสปักฉลุเป็นลายลูกไม้หากเป็นชาวจีนก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบ หรือผ้าแพรจีนก็ได้
          8.  การแต่งกายของไทยสำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิง หรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็น ท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่ เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่อง ประดับได้งดงาม สมโอกาสใน เวลาค่ำคืน สำหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน
          9.  การแต่งกายของเวียดนามอ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหม ที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมี ลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนาม จะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ
          10.  การแต่งกายของพม่า ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูป ทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้น มาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่





บทที่ 3
วิธีการจัดทำโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้พัฒนาโครงงาน
วัสดุและอุปการณ์ที่ใช้ในการจัดทำโครงงานได้แก่
         1.  คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง
         2.  โน้ตบุ๊ค 1 เครื่อง
         3.  หนังสือประเทศอาเซียน
         4.  หนังสือประชาคมอาเซียน

วิธีการจัดทำโครงงาน
          1.  ปรึกษากับสมาชิกในกลุ่มเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงาน
          2.  เลือกโปรแกรมที่จะใช้ทำตามที่เราสนใจ
          3.  ศึกษาวิธีการทำโปรแกรมที่เราจะใช้ทำ
          4.  แบ่งหน้าที่ในการทำตามความเหมาะสม
          5.  รวบรวมเนื้อหาแล้วสรุปเป็นหัวข้อที่จะทำ
          6.  ทำบทที่ 1และ 2 ส่งอาจารย์เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
          7.  ออกแบบเค้าโครงสื่อ
          8.  ทำ map เพื่อความสะดวกในการทำจะได้มีความเป็นระเบียบ
          9.  ลงมือสื่อ
         10.  ทำรูปเล่มโครงงาน
         11. นำเสนอผลงาน


บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการศึกษาการสร้างสื่อ CAI เพื่อที่จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้ ผู้จัดทำได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจากเว็บไซด์ซึ่งมี เว็บไซด์หลายเว็บไซต์และแต่ละเว็บจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันไปไม่ครอบคลุม เนื้อหา กลุ่มข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือซึ่ง แต่ละเล่มจะมีเนื้อหาที่ละเอียดทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อที่จะอ่าน เมื่อกลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อ CAI ที่เกี่ยวกับอาเซียนกลุ่มข้าพเจ้าจึงนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นำมาสรุป แล้วทำไว้ในสื่อเดียวกันเพื่อ ความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่มีความสนใจและเพื่อประหยัดเวลาในการหา สามารถหาได้โดยผ่านเว็บไซต์และรวบรวมไว้ในสื่อเพียงสื่อเดียว ทำให้มีเวลาสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมเพิ่มมากขึ้น




บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการจัดทำโครงงานพบว่าการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน โดยใช้ โปรแกรม Adobe Captivate ในการสร้างสื่อ CAI เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสามารถสรุปผลได้ดังนี้ กลุ่มของข้าพเจ้าได้จัดทำสื่อเกี่ยวกับอาเซียนกลุ่มข้าพเจ้าจึงนำข้อมูลที่ เก็บรวบรวมมาได้นำมา สรุปแล้วทำไว้ในสื่อเดียวกันเพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่มี ความสนใจและเพื่อ ประหยัดเวลาในการหา สามารถหาได้โดยผ่านเว็บไซต์และรวบรวมไว้ในสื่อเพียงสื่อเดียว ทำให้มีเวลาสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและสังคมเพิ่ม มากขึ้นและยังได้ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

ข้อเสนอแนะ
1.ควรที่จะศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมให้ละเอียดมากกว่านี้เพื่อที่จะไม่เสียเวลาในการทำ
2.ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการทำงานเพื่อผลงานจะได้ออกมาดีกว่านี้




บรรณานุกรม
https://sites.google.com/site/class0223/introduction
http://nanavagi.blogspot.com/2009/11/blog-post_11.html
(http://www.ongitonline.com/index. )
(http://www.thaigoodview.com/node/48022)
(http://ladyit.exteen.com/20060711/html-4)
(http://www.thaigoodview.com/node/129059)
(http://pawi2845.wordpress.com)
(http://www.nwvoc.ac.th/asean/asean3.html)
(http://www.nwvoc.ac.th/asean/asean3.html)
(http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/asean/aseansecret.pdf)
(หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน หน้า 52-59)
http://www.asean-info.com/asean_community/asean_song.html
http://hilight.kapook.com/view/75319
http://hilight.kapook.com/view/75321

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น